เมนู

เหล่านั้นแล้วกระทำอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิให้เป็นบาท แล้วกำหนด
นามรูปและปัจจัยแห่งนามรูปนั้น ย่อมเห็นธรรมคือขันธ์ 5 ไม่วิปริตโดยชอบ
ตามลำดับมีการพิจารณากลาปะ (กลุ่มก้อน) เป็นต้น โดยความเป็นของไม่
เพียงเป็นต้น. บทว่า อปฺปมาทรตา ได้แก่ ยินดี คือยินดียิ่งในความไม่
ประมาท ด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนามีประการดังกล่าวแล้ว คือไม่ให้คืน
และวันล่วงไปด้วยความประมาทในธรรมนั้น . บทว่า สนฺตา แปลว่ามีอยู่. บาลี
ว่า สตฺตา ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า ได้แก่บุคคล. บทว่า ปมาเท ภยทสฺสิโน
ได้แก่เห็นภัยในความประมาทมีการเข้าถึงนรกเป็นต้น. บทว่า อภพฺพาปริหา-
นาย
ได้แก่ ชนเห็นปานนั้นเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อมรอบจากธรรม
คือสมถะและวิปัสสนา หรือจากมรรคผล. ด้วยว่าชนทั้งหลายไม่เสื่อมจาก
สมาบัติ คือ สมถวิปัสสนา และย่อมบรรลุมรรคผลที่ตนยังไม่บรรลุ. บทว่า
นิพพานสฺเสว สนฺติเก ได้แก่ ในที่ใกล้แห่งนิพพานและแห่งอนุปาทิเสส-
นิพพานนั้นเอง. ไม่นานนัก ชนเหล่านั้นจักบรรลุนิพพานนั้นด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสัลลานสูตรที่ 8

9. สิกขาสูตร


ว่าด้วยสิกขามีอานิสงส์ 2 อย่าง


[224] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มี